Latest

FEATUREDLatestReportages

ผู้ชายขายบริการ

เดือนมิถุนายนถือเป็น Pride Month หรือเดือนแห่งการเฉลิมฉลองขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เนื่องในโอกาสนี้ Plus Seven ขอนำเสนอ Photo Essay บอกเล่าเรื่องราวของผู้ชายขายบริการในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มที่คาบเกี่ยวกับความหลากหลาย เสรีภาพ และความปลอดภัยทางเพศ หากแต่ถูกพูดถึงน้อยกว่ากลุ่มอื่น จนอาจจะเรียกได้ว่าเป็น ‘ชายขอบของชายขอบ’ ต้นฉบับเรื่องและภาพโดยวรุตม์ พงศ์พิพัฒน์

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

คาเฟ่น้องหมาในวันที่ไม่มีมนุษย์

คาเฟ่สัตว์เลี้ยงเป็นธุรกิจหนึ่งที่เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้านกาแฟส่วนใหญ่เน้นจุดขายเป็นเมล็ดกาแฟคัดสรรพิเศษ หรือการตกแต่งร้านที่มีเอกลักษณ์ดึงดูดให้ลูกค้าถ่ายภาพลงโซเชียล ร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงมีตัวชูโรงเป็นสัตว์น่ารักที่ลูกค้าสามารถมาเล่นด้วยได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลออกคำสั่งปิดกิจการหลายอย่างเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส หน้าร้านต่างๆ จำต้องปิดให้บริการและหันไปพึ่งพาการส่งสินค้าผ่านบริการเดลิเวอรี่ นั่นหมายความว่า ธุรกิจอย่างคาเฟ่สัตว์เลี้ยงสูญเสียจุดขายสำคัญ เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถมาชื่นชมความน่ารักของสัตว์ที่ร้านได้อีกต่อไป คนรักหมาในเมือง วีณศริน ‘ตอย’ พรหมจิตติพงศ์ รับช่วงกิจการร้าน Dog In Town สาขาเอกมัยมาจากพี่เขยที่ขยายไปเปิดสาขาใหม่ที่อารีย์

Read More
FEATUREDLatestReportages

สลัมตกสำรวจ: มุมเมืองที่ถูกเมิน

เมื่อพูดถึงชุมชนแออัดในเมือง หรือ “สลัม” หลายคนมักจะนึกถึงชุมชนที่มีชื่อเสียง เช่น ชุมชนคลองเตย ชุมชนบ่อนไก่ หรือชุมชนบ้านครัว ชุมชนเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้คนในชุมชนขาดรายได้มาจุนเจือครอบครัว มีปัญหาด้านสุขอนามัย และขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ชุมชนเหล่านี้ยังได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนเป็นครั้งคราว  แต่ในกรุงเทพมหานครยังมี “สลัมตกสำรวจ” อีกเป็นจำนวนมากที่มีปัญหาไม่ต่างกัน แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างชุมชนชื่อดังที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ชายขอบของความเหลื่อมล้ำ สิทธิพล ชูประจง

Read More
ArticlesLatest

โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ต้นแบบการบรรเทาปัญหาผู้ป่วย COVID-19 ล้น

ความท้าทายสำคัญประการหนึ่งในวิกฤตไวรัส COVID-19 ระบาด คือ ความสามารถในการรับมือผู้ติดเชื้อของระบบสาธารณสุข หากจำนวนผู้ติดเชื้อก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นจนเกินกว่าทรัพยากรการแพทย์ที่มีอยู่ ผู้ป่วยจำนวนมากอาจเข้าไม่ถึงการรักษาที่จำเป็นอย่างทันท่วงทีจนเป็นอันตรายได้ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ คือ หนึ่งในโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาพื้นที่ดูแลและกักตัวผู้ป่วยติดเชื้อไม่เพียงพอ มีกาารระดมทรัพยากรทางการแพทย์ งบประมาณ และบุคลากร เพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ  COVID-19 และแบ่งเบาภาระจากโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เป็นโครงการที่ทำร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Read More
ArticlesLatest

COVID-19: สถานการณ์ขยะในกรุงเทพฯ

เมื่อร้านอาหารในกรุงเทพฯ ถูกสั่งห้ามให้บริการลูกค้าที่ร้าน ตามมาตรการป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น และส่งผลต่อประเภทและปริมาณขยะโดยรวมด้วย วันชัย พนักงานเก็บขยะเขตวัฒนา กล่าวว่า ปริมาณและลักษณะของขยะที่พบในช่วงนี้เปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ เช่น โซนโรงแรมหรือบริเวณที่มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ ปริมาณขยะลดลงมาก เพราะชาวต่างชาติส่วนใหญ่เดินทางกลับประเทศ และไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่ม บริเวณคอนโดมิเนียมที่ผู้อาศัยส่วนใหญ่เป็นคนไทย ปริมาณขยะไม่แตกต่างจากช่วงปกติ แต่พบขยะประเภท กล่องข้าว

Read More
ArticlesLatest

COVID-19: ภาวะผู้นำและการสื่อสารในยามวิกฤต

การพูดที่ห้วนสั้นรวดเร็ว เสียงอู้อี้ที่ฟังไม่รู้เรื่อง และเนื้อหาที่วกไปวนมา สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดเห็นที่พบได้ทั่วไปในโลกออนไลน์ ต่อการแถลงของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา เกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินท่ามกลางภาวะไวรัส COVID-19 แพร่ระบาด อากัปกิริยาของผู้นำประเทศนั้นสะท้อนภาพที่น่าสนใจในทางรัฐศาสตร์  ผศ.ดร.ปรีชญาณ์ นักฟ้อน อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ให้ความเห็นถึงการแสดงออกของรัฐบาล ความคาดหวังของประชาชน และการสื่อสารที่ควรกระทำในภาวะวิกฤต ไว้ว่า การแสดงออกของผู้ที่อยู่ในตำแหน่งบริหาร

Read More
ArticlesLatest

Work From Home อย่างไรให้ดีกับสุขภาพจิต

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก หลายคนต้องหยุดทำงานและขาดรายได้ หลายคนยังมีงานทำแต่ต้องเสี่ยงออกไปทำงานนอกบ้าน หลายหน่วยงานให้พนักงานเปลี่ยนไปทำงานที่บ้าน หรือที่เรียกว่า Work From Home ซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับมาตรการเว้นระยะห่างทางกายภาพ หรือ Physical Distancing เพื่อป้องกันและลดการติดและแพร่กระจายไวรัส  การทำงานอยู่แต่ในบ้านและลดการปฏิสัมพันธ์ภายนอกนั้นส่งผลต่อสภาพจิตใจ ผู้ที่ต้องเก็บตัวอยู่ในที่เดียวเป็นเวลานานและไม่ได้พบปะผู้คนอาจรู้สึกเบื่อหน่ายและหงุดหงิด การดูแลสภาพจิตใจภายใต้สภาวะเช่นนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ดร.ธนพงศ์

Read More
LatestReportages

มนุษย์ผู้ “ขับ” เคลื่อนกรุงเทพฯ ภายใต้วิกฤตโรคระบาด

กรุงเทพมหานครในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงียบเหงาวังเวง ผิดไปจากภาพเมืองใหญ่อันจอแจที่คุ้นเคย นับตั้งแต่มีการออกประกาศปิดสถานที่ต่างๆ และจำกัดการเดินทางออกนอกเคหะสถานเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ห้างสรรพสินค้า ร้านรวง และบริษัทจำนวนมากปิดทำการ สถานที่สาธารณะว่างเปล่าปราศจากผู้คน ทว่าบนท้องถนนยังมีคนกลุ่มหนึ่งเดินทางไปทั่วเมืองอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อขับเคลื่อนให้ชีวิตยังคงดำเนินต่อไป “ความจนมันน่ากลัวกว่า ทุกอย่างมีค่าใช้จ่าย บ้านเขาก็ไม่ได้ให้หยุดผ่อน ผมก็ต้องกินต้องใช้ เลยต้องออกมาวิ่งมอเตอร์ไซค์รับงาน” แจ๊ค หนุ่มใหญ่วัย 39 ปี อาชีพขับจักรยานยนต์รับส่งอาหาร

Read More
FEATUREDLatestReportages

เส้นทางมวยไทย ชีวิตที่น้อยคนจะถึงฝั่งฝัน

“ชก!!!!” สิ้นเสียงกรรมการ นักมวย 2 ฝ่ายโผเข้าใส่กันด้วยเหงื่อท่วมกาย ก่อนที่ฝ่ายน้ำเงินจะเหวี่ยงหมัดฮุคซ้ายเข้าปลายคางฝ่ายแดงอย่างเหมาะเหม็ง นักมวยฝ่ายแดงล้มกองกับพื้น ถือเป็นหมัดน็อคที่สวยงามท่ามกลางการชกอันดุเดือดที่สนามมวยสยามอ้อมน้อย ในช่วงต้นเดือนมีนาคม รอบเวทีรายล้อมด้วยเหล่าแฟนมวยที่ส่งเสียงเฮลั่นจนหลังคาอาคารสั่นสะเทือน ท่ามกลางเสียงตะโกนอันบ้าคลั่ง มือไม้ชูผลุบโผล่จากอัฒจันทร์ เป็นสัญลักษณ์สื่อสารของแต้มต่อในมวยแต่ละคู่ ธนบัตรสีแดงและม่วงถูกเปลี่ยนมืออย่างรวดเร็ว กระดาษตารางชกถูกจับแน่นจนยับย่นในมือของผู้ชม ยิ่งนักมวยมีชื่อเสียง เม็ดเงินหมุนเวียนยิ่งพลุ่นพล่านราวกับเลือดในกายที่ถูกสูบฉีดยามออกแรงวิ่ง จากนักชกสู่ผู้ฝึกสอน “ผมเริ่มชกมวยตอนอายุ 17

Read More