Reportages

FEATUREDLatestReportages

เซ็กซ์ครีเอเตอร์: อาชีพต้องห้ามใต้ศีลธรรมอันดีของไทย

ประเทศไทยกับเรื่องทางเพศเป็นปัญหาเรื้อรังที่ได้รับการกล่าวถึง ถกเถียง และเวียนวนมาหลายทศวรรษ โดยประเด็นก็ได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย นับตั้งแต่เรื่องของการขายบริการทางเพศตามพื้นที่ต่างๆ สื่อลามกล่อแหลม หรือในปัจจุบันคือเรื่องของเซ็กซ์ครีเอเตอร์หรือผู้ผลิตผลงานทางเพศบนช่องทางออนไลน์ เกิดเป็นการโต้เถียงระหว่างฝ่ายหนึ่งที่ยกประเด็นว่าเรื่องทางเพศหรือเซ็กซ์เป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน มนุษย์เกิดมาจากการมีเพศสัมพันธ์ของคนสองคนทั้งนั้น มันไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอย่างใดที่จะกล่าวถึง หรือต่อให้เราเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวระหว่างมีเพศสัมพันธ์บนฐานของความยินยอมก็ย่อมเป็นไปได้ อีกฝ่ายก็พร่ำกรอกข้อความว่าเรื่องทางเพศ เรื่องเซ็กซ์ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นเรื่องผิดบาป เป็นเรื่องน่าละอายที่ไม่ควรเผยแพร่ตามสื่อสาธารณะ นำไปสู่การจับกุมเซ็กซ์ครีเอเตอร์หลายต่อหลายครั้งใต้คำกล่าวอ้างว่าเพื่อ ‘ธำรงประเพณีอันดีงามของประเทศ’ ระหว่างที่การโต้เถียงยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายทาง มีคนกลุ่มหนึ่งกำลังเปิดหน้าท้าทายขนบธรรมเนียมความเชื่อเรื่องเพศที่คนในสังคมจำนวนยังไม่ยอมรับ

Read More
FEATUREDLatestReportages

ปลาหาย รายได้หด: คลื่นปัญหาซัดกร่อนประมงปัตตานี

เมื่อกล่าวถึงปัญหาความมั่นคงในจังหวัดปัตตานี เรื่องแรกที่ผู้คนมักจะนึกถึงคือเรื่องของความรุนแรง ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ก่อเหตุและรัฐ รวมถึงการแบ่งแยกดินแดน นั่นอาจจะเป็นปัญหาความมั่นคงในมิติเดียวที่มองผ่านสายตาของรัฐ  ทว่าในความเป็นจริง จังหวัดปัตตานีกำลังเผชิญกับปัญหาความมั่นคงในมิติอื่น และอยู่ในช่วงที่เปราะบางไม่น้อยไปกว่าปัญหาด้านความมั่นคงข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงทางอาหาร และทรัพยากรทางทะเล ที่เคยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล เป็นแหล่งรายได้หลักให้กับจังหวัด และเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประเทศ นิยามความมั่นคงทางอาหารนั้นมีคำอธิบายที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร หากมีหัวใจสำคัญที่คล้ายคลึงกันคือเรื่องของการ ‘เข้าถึงอาหาร’ ในฐานะปัจเจกชน โดยมนุษย์ทุกคนบนโลกจะต้องสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ ปลอดภัย และอุดมไปด้วยโภชนาการ

Read More
FEATUREDLatestReportages

COVID-19: ย่างก้าวระหว่างความเป็นและความตาย

นับตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา การแพร่ระบาดจนเกิดเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ซัดโครมเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยผู้คนซึ่งอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น ผมได้เดินทางไปทั่วกรุงเทพฯ บันทึกภาพของผู้คนที่พยายามนำพาชีวิตเพื่อนมนุษย์ผ่านพ้นวิกฤติโรคระบาด ท่ามกลางการจัดการของรัฐบาลที่ติดขัดในเรื่อง ‘ขั้นตอน’ จำนวนมาก จนหลายชีวิตไม่อาจดำรงอยู่ในวันนี้ ก่อนที่สถานการณ์ (เกือบ) ล็อกดาวน์จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ในเดือนเมษายนผมเดินทางไปที่วัดสะพาน พระโขนง เขตคลองเตย เพื่อบันทึกภาพการตรวจโควิดเชิงรุกของกรุงเทพฯ โดยเน้นหนักไปยังกลุ่มผู้อาศัยอยู่ในสลัมคลองเตย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

Read More
FEATUREDLatestReportages

COVID-19 : สภาวะขาดรายได้ ทำลายชีวิตคนจนเมือง

หลังจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ประเทศไทยต้องเผชิญมาเป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ จนมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 100,000 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 500 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2564) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่การระบาดรอบใหม่ เพิ่มปริมาณผู้ติดเชื้อขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตั้งแต่วันที่

Read More
FEATUREDLatestReportages

4 ทศวรรษแห่งการต่อสู้ : ความสำเร็จและความฝันของชุมชนบ่อแก้ว

เมื่อพูดถึงการต่อสู้เรื่องสิทธิชุมชนในการอยู่รวมกันของคนกับป่า หลายๆ คนก็คงจะนึกถึงชุมชนบางกลอยเป็นอันดับต้น และหากพูดขยายความต่อไปถึงขบวนการต่อสู้ที่ประสบความสำเร็จ หนึ่งในนั้นก็คงมีชื่อของชุมชนบ่อแก้ว อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ รวมอยู่ในนั้นด้วย  ชุมชนบ่อแก้ว เป็นชุมชนขนาดไม่ใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนมะลิวรรณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ชุมชนบ่อแก้ว เป็นชุมชนที่มีข้อพิพาทกับรัฐเรื่องที่ดินทำกินทับซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2516 มีการประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติซำผักหนาม ในกฎกระทรวงฉบับที่

Read More
FEATUREDLatestReportages

โควิด-19 ในคลองเตย: เมื่อรัฐขยับตัวช้าเกินไป 

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน รวยล้นฟ้าย่อมมีสิทธิติดเชื้อได้ทั้งสิ้น  แม้รัฐบาลจะพยายามบอกว่าทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน แต่กระแสข่าวที่ออกมาตามหน้าสื่อกลับสวนทาง เมื่อผู้มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในสังคมได้ออกมาเผยแพร่เกี่ยวกับข้อมูลการติดเชื้อ ภาพที่เห็นนั้นคือการบริการจากทั้งทางภาครัฐและเอกชนที่พร้อม ทั้งการตรวจเชื้อ การรับตัวไปรักษา หรือว่าในส่วนของสถานรักษาพยาบาลที่มีความครบครัน แต่ประชาชนคนทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนที่เปราะบางทางเศรษฐกิจกลับต้องเผชิญกับความยากลำบากในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ราคาสูงเกินกว่าจะแบกรับต้นทุนได้ หรือต่อให้มีการบริการตรวจหาเชื้อฟรีก็มีจำนวนจำกัดจนเกิดการแย่งชิงสิทธิ การประสานงานที่เชื่องช้าระหว่างองค์กรที่มีหน้าที่ในการรับผู้ป่วยจากบ้านไปส่งที่โรงพยาบาล

Read More
FEATUREDLatestReportages

ผู้ชายขายบริการ

เดือนมิถุนายนถือเป็น Pride Month หรือเดือนแห่งการเฉลิมฉลองขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เนื่องในโอกาสนี้ Plus Seven ขอนำเสนอ Photo Essay บอกเล่าเรื่องราวของผู้ชายขายบริการในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มที่คาบเกี่ยวกับความหลากหลาย เสรีภาพ และความปลอดภัยทางเพศ หากแต่ถูกพูดถึงน้อยกว่ากลุ่มอื่น จนอาจจะเรียกได้ว่าเป็น ‘ชายขอบของชายขอบ’ ต้นฉบับเรื่องและภาพโดยวรุตม์ พงศ์พิพัฒน์

Read More
FEATUREDReportages

กรุงเทพฯ ภายใต้วิกฤตโควิด-19

กว่าห้าเดือนแล้วที่ชีวิตในกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่มีการยืนยันผู้ป่วยรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 รัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับโรคระบาด ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในเมืองเปลี่ยนไป พ.ร.ก. ฉุกเฉินและเคอร์ฟิวถูกบังคับใช้ นักเรียนไม่สามารถไปโรงเรียน นักศึกษาต้องหยุดเรียนหรือเรียนออนไลน์ที่บ้าน ร้านสะดวกซื้อ ศูนย์การค้าและธุรกิจต่างๆ ถูกปิด บริการต่างๆ ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบ พนักงานบริษัทต้องทำงานที่บ้าน การใส่หน้ากากในที่สาธารณะเป็นสิ่งจำเป็น  Plus

Read More
FEATUREDLatestReportages

สลัมตกสำรวจ: มุมเมืองที่ถูกเมิน

เมื่อพูดถึงชุมชนแออัดในเมือง หรือ “สลัม” หลายคนมักจะนึกถึงชุมชนที่มีชื่อเสียง เช่น ชุมชนคลองเตย ชุมชนบ่อนไก่ หรือชุมชนบ้านครัว ชุมชนเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้คนในชุมชนขาดรายได้มาจุนเจือครอบครัว มีปัญหาด้านสุขอนามัย และขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ชุมชนเหล่านี้ยังได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนเป็นครั้งคราว  แต่ในกรุงเทพมหานครยังมี “สลัมตกสำรวจ” อีกเป็นจำนวนมากที่มีปัญหาไม่ต่างกัน แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างชุมชนชื่อดังที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ชายขอบของความเหลื่อมล้ำ สิทธิพล ชูประจง

Read More
LatestReportages

มนุษย์ผู้ “ขับ” เคลื่อนกรุงเทพฯ ภายใต้วิกฤตโรคระบาด

กรุงเทพมหานครในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงียบเหงาวังเวง ผิดไปจากภาพเมืองใหญ่อันจอแจที่คุ้นเคย นับตั้งแต่มีการออกประกาศปิดสถานที่ต่างๆ และจำกัดการเดินทางออกนอกเคหะสถานเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ห้างสรรพสินค้า ร้านรวง และบริษัทจำนวนมากปิดทำการ สถานที่สาธารณะว่างเปล่าปราศจากผู้คน ทว่าบนท้องถนนยังมีคนกลุ่มหนึ่งเดินทางไปทั่วเมืองอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อขับเคลื่อนให้ชีวิตยังคงดำเนินต่อไป “ความจนมันน่ากลัวกว่า ทุกอย่างมีค่าใช้จ่าย บ้านเขาก็ไม่ได้ให้หยุดผ่อน ผมก็ต้องกินต้องใช้ เลยต้องออกมาวิ่งมอเตอร์ไซค์รับงาน” แจ๊ค หนุ่มใหญ่วัย 39 ปี อาชีพขับจักรยานยนต์รับส่งอาหาร

Read More