FEATURED

ArticlesFEATUREDLatest

Women and lenses: เรื่องราวหลังเลนส์ของช่างภาพข่าวหญิง

เมื่อกล่าวถึงอาชีพช่างภาพข่าว (photojournalist) อาจไม่ใช่ชื่ออาชีพที่คุ้นหูมากนัก หากเมื่ออธิบายเนื้องานว่าช่างภาพข่าวเหล่านี้คือกลุ่มคนที่ถือกล้องขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไปตามความถนัด คอยบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟไหม้ น้ำท่วม การเมือง หรือว่าการชุมนุม เพื่อเผยแพร่ทั้งตามหน้าสื่อกระแสหลักอย่างหนังสือพิมพ์หรือว่าจะเป็นภาพข่าวที่แชร์กันบนโลกออนไลน์ หลายคนอาจคุ้นเคยกับกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น หากใต้บทบาทหน้าที่ในการนำเสนอและเปิดเผยข่าวสารผ่านรูปถ่าย อาชีพนี้กำลังซุกซ่อนหนึ่งคำถามแสนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศเอาไว้อย่างเงียบเชียบ เพราะเหตุใดช่างภาพข่าวจึงเป็นผู้ชายแทบทั้งสิ้น? ดั่งที่เราเห็นมาเสมอว่ากลุ่มคนที่ยืนรวมกลุ่ม ถือหรือสะพายกล้องพร้อมกับอุปกรณ์เสริมอื่นพะรุงพะรังมักจะเป็นเพศชายเกือบทั้งหมด แล้วมีผู้หญิงกี่ชีวิตที่ทำงานอยู่ใต้อาชีพนี้ การสำรวจในประเทศไทยพบว่าช่างกล้องผู้หญิงที่ทำงานอยู่ในองค์กรข่าวหรือเอเจนซีมีประมาณ 5% จากผู้ประกอบอาชีพช่างภาพข่าวอย่างเป็นทางการ

Read More
FEATUREDLatestReportages

เซ็กซ์ครีเอเตอร์: อาชีพต้องห้ามใต้ศีลธรรมอันดีของไทย

ประเทศไทยกับเรื่องทางเพศเป็นปัญหาเรื้อรังที่ได้รับการกล่าวถึง ถกเถียง และเวียนวนมาหลายทศวรรษ โดยประเด็นก็ได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย นับตั้งแต่เรื่องของการขายบริการทางเพศตามพื้นที่ต่างๆ สื่อลามกล่อแหลม หรือในปัจจุบันคือเรื่องของเซ็กซ์ครีเอเตอร์หรือผู้ผลิตผลงานทางเพศบนช่องทางออนไลน์ เกิดเป็นการโต้เถียงระหว่างฝ่ายหนึ่งที่ยกประเด็นว่าเรื่องทางเพศหรือเซ็กซ์เป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน มนุษย์เกิดมาจากการมีเพศสัมพันธ์ของคนสองคนทั้งนั้น มันไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอย่างใดที่จะกล่าวถึง หรือต่อให้เราเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวระหว่างมีเพศสัมพันธ์บนฐานของความยินยอมก็ย่อมเป็นไปได้ อีกฝ่ายก็พร่ำกรอกข้อความว่าเรื่องทางเพศ เรื่องเซ็กซ์ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นเรื่องผิดบาป เป็นเรื่องน่าละอายที่ไม่ควรเผยแพร่ตามสื่อสาธารณะ นำไปสู่การจับกุมเซ็กซ์ครีเอเตอร์หลายต่อหลายครั้งใต้คำกล่าวอ้างว่าเพื่อ ‘ธำรงประเพณีอันดีงามของประเทศ’ ระหว่างที่การโต้เถียงยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายทาง มีคนกลุ่มหนึ่งกำลังเปิดหน้าท้าทายขนบธรรมเนียมความเชื่อเรื่องเพศที่คนในสังคมจำนวนยังไม่ยอมรับ

Read More
FEATUREDLatestReportages

ปลาหาย รายได้หด: คลื่นปัญหาซัดกร่อนประมงปัตตานี

เมื่อกล่าวถึงปัญหาความมั่นคงในจังหวัดปัตตานี เรื่องแรกที่ผู้คนมักจะนึกถึงคือเรื่องของความรุนแรง ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ก่อเหตุและรัฐ รวมถึงการแบ่งแยกดินแดน นั่นอาจจะเป็นปัญหาความมั่นคงในมิติเดียวที่มองผ่านสายตาของรัฐ  ทว่าในความเป็นจริง จังหวัดปัตตานีกำลังเผชิญกับปัญหาความมั่นคงในมิติอื่น และอยู่ในช่วงที่เปราะบางไม่น้อยไปกว่าปัญหาด้านความมั่นคงข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงทางอาหาร และทรัพยากรทางทะเล ที่เคยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล เป็นแหล่งรายได้หลักให้กับจังหวัด และเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประเทศ นิยามความมั่นคงทางอาหารนั้นมีคำอธิบายที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร หากมีหัวใจสำคัญที่คล้ายคลึงกันคือเรื่องของการ ‘เข้าถึงอาหาร’ ในฐานะปัจเจกชน โดยมนุษย์ทุกคนบนโลกจะต้องสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ ปลอดภัย และอุดมไปด้วยโภชนาการ

Read More
FEATUREDLatestReportages

COVID-19: ย่างก้าวระหว่างความเป็นและความตาย

นับตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา การแพร่ระบาดจนเกิดเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ซัดโครมเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยผู้คนซึ่งอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น ผมได้เดินทางไปทั่วกรุงเทพฯ บันทึกภาพของผู้คนที่พยายามนำพาชีวิตเพื่อนมนุษย์ผ่านพ้นวิกฤติโรคระบาด ท่ามกลางการจัดการของรัฐบาลที่ติดขัดในเรื่อง ‘ขั้นตอน’ จำนวนมาก จนหลายชีวิตไม่อาจดำรงอยู่ในวันนี้ ก่อนที่สถานการณ์ (เกือบ) ล็อกดาวน์จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ในเดือนเมษายนผมเดินทางไปที่วัดสะพาน พระโขนง เขตคลองเตย เพื่อบันทึกภาพการตรวจโควิดเชิงรุกของกรุงเทพฯ โดยเน้นหนักไปยังกลุ่มผู้อาศัยอยู่ในสลัมคลองเตย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

Read More
FEATUREDLatestReportages

COVID-19 : สภาวะขาดรายได้ ทำลายชีวิตคนจนเมือง

หลังจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ประเทศไทยต้องเผชิญมาเป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ จนมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 100,000 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 500 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2564) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่การระบาดรอบใหม่ เพิ่มปริมาณผู้ติดเชื้อขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตั้งแต่วันที่

Read More
FEATUREDLatestReportages

4 ทศวรรษแห่งการต่อสู้ : ความสำเร็จและความฝันของชุมชนบ่อแก้ว

เมื่อพูดถึงการต่อสู้เรื่องสิทธิชุมชนในการอยู่รวมกันของคนกับป่า หลายๆ คนก็คงจะนึกถึงชุมชนบางกลอยเป็นอันดับต้น และหากพูดขยายความต่อไปถึงขบวนการต่อสู้ที่ประสบความสำเร็จ หนึ่งในนั้นก็คงมีชื่อของชุมชนบ่อแก้ว อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ รวมอยู่ในนั้นด้วย  ชุมชนบ่อแก้ว เป็นชุมชนขนาดไม่ใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนมะลิวรรณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ชุมชนบ่อแก้ว เป็นชุมชนที่มีข้อพิพาทกับรัฐเรื่องที่ดินทำกินทับซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2516 มีการประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติซำผักหนาม ในกฎกระทรวงฉบับที่

Read More
FEATUREDLatestReportages

โควิด-19 ในคลองเตย: เมื่อรัฐขยับตัวช้าเกินไป 

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน รวยล้นฟ้าย่อมมีสิทธิติดเชื้อได้ทั้งสิ้น  แม้รัฐบาลจะพยายามบอกว่าทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน แต่กระแสข่าวที่ออกมาตามหน้าสื่อกลับสวนทาง เมื่อผู้มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในสังคมได้ออกมาเผยแพร่เกี่ยวกับข้อมูลการติดเชื้อ ภาพที่เห็นนั้นคือการบริการจากทั้งทางภาครัฐและเอกชนที่พร้อม ทั้งการตรวจเชื้อ การรับตัวไปรักษา หรือว่าในส่วนของสถานรักษาพยาบาลที่มีความครบครัน แต่ประชาชนคนทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนที่เปราะบางทางเศรษฐกิจกลับต้องเผชิญกับความยากลำบากในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ราคาสูงเกินกว่าจะแบกรับต้นทุนได้ หรือต่อให้มีการบริการตรวจหาเชื้อฟรีก็มีจำนวนจำกัดจนเกิดการแย่งชิงสิทธิ การประสานงานที่เชื่องช้าระหว่างองค์กรที่มีหน้าที่ในการรับผู้ป่วยจากบ้านไปส่งที่โรงพยาบาล

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

อุ้มหาย ความอำมหิตอย่างไม่เป็นทางการของรัฐไทย : “จ่านิว” สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์

การบุกจับตัว จ่านิว สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ จากบริเวณหน้าประตูรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในช่วงเวลากลางคืนเป็นการกระทำที่อุกอาจอย่างไม่ต้องสงสัย โดยภาพจากกล้องวงจรปิดปรากฏชัดว่ามีชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งได้มาดักรอและมีการพาตัวสิรวิชญ์ในลักษณะของการบังคับอุ้มขึ้นรถ โดยไม่มีใครทราบว่าใครพาไปหรือพาไปที่ไหน ก่อนที่จะนำตัวไปปล่อยไว้ที่สถานีตำรวจในเวลาราวสี่ชั่วโมงถัดมา จากประสบการณ์ในช่วงเดือนมกราคมเมื่อห้าปีที่แล้ว จ่านิว สิรวิชญ์ย้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นอีกครั้ง จ่านิวเริ่มเล่าจากความเป็นมาของการจับตัวว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทุจริตในโครงการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ “นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง”  โดยตัวเขาและผู้เข้าร่วมกิจกรรมรายอื่นได้โดยสารรถไฟจากสถานีบางกอกน้อยไปยังสถานที่ตั้งของอุทยานที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหลังจากกิจกรรมในวันนั้นสิรวิชญ์ถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

โรงเรียนสุด (เหลื่อม) ล้ำ

ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่ทุกคนมักหยิบยกมาพูดเมื่อเอ่ยถึงปัญหาด้านการศึกษาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างอย่างมหาศาลของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนชั้นนำ โรงเรียนต่างจังหวัด หรือโรงเรียนในกรุงเทพฯ ไปจนถึงการมีอยู่ของโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนต้องใช้ต้นทุนทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับการเข้าถึงทางการศึกษา โอกาสที่ซื้อได้ด้วยเงิน อรรถพล บัวพัฒน์ หรือ ครูใหญ่ ติวเตอร์วิชาสังคม และภาษาไทย ในจังหวัดขอนแก่น อธิบายถึงความเหลื่อมล้ำของการศึกษาผ่านมุมมองของติวเตอร์ว่า “ในสังคมใดๆ ก็ตามที่ปริมาณเงินที่มากกว่า สามารถซื้อคุณภาพด้านการคมนาคม การรักษาพยาบาลและการศึกษาที่ดีกว่า

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

ปล่อยให้เจ็บ เพื่อเติบโต : เมนู สุพิชฌาย์ ชัยลอม

ทุกอย่างเริ่มต้นที่ครอบครัว ทั้งความรักและความขัดแย้ง เรื่องราวของประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ออกมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความไม่ลงรอยภายในครอบครัวภายหลังจากการออกมาเคลื่อนไหวหรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในหลายเดือนที่ผ่านมาปรากฎความรุนแรงที่น่าประหลาดใจ Plus Seven สัมภาษณ์เมนู สุพิชฌาย์ ชัยลอม ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่ภาพแผ่นหลังของตนเองขณะชูสามนิ้วกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เพื่อน และสังคมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากการออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งมีทั้งแรงสนับสนุนและเสียงคัดค้าน หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อเราเคลื่อนไหวอยู่ในโลกประชาธิปไตย เมนู เล่าว่าพ่อของตนเป็นตำรวจ ในขณะที่แม่ทำเบอเกอรี มีน้องหนึ่งคน ส่วนตัวเองเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก สายศิลป์-ภาษา

Read More