FEATURED

ArticlesFEATUREDLatest

iLaw คือใคร ใครคือ iLaw

แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนของ iLaw จะถูกคว่ำกลางสภา ด้วยมติไม่รับหลักการ 138 คน งดออกเสียง 369 คน รับหลักการ 212 คน แต่ความน่าสนใจคือการรวบรวมรายชื่อประชาชนกว่าแสนรายชื่อ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง และการชุมนุมในช่วงปี 2563 เช่นนั้น iLaw คือใคร PLUS

Read More
ArticlesFEATUREDLatestOpinion

รัฐไทยได้มาตรฐาน? : เปิดแนวทางสลายการชุมนุมระดับสากล

การชุมนุมประท้วงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แม้ในหลายการชุมนุมอาจนำไปสู่ความรุนแรงตามวาระโอกาส แต่ไม่ได้ทำให้การชุมนุมหมดความชอบธรรมไปในทันที และหากมีความจำเป็นต้องสลายการชุมนุม การคงไว้ซึ่งรูปแบบที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรง ดูจะเป็นตัวเลือกที่ได้รับการยอมรับมากกว่า เช่นนั้นการสลายการชุมนุมในช่วงปี 2563 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ใช้น้ำผสมสารเคมีสีฟ้า (Methyl violet 2B) และน้ำที่ผสมแก๊สน้ำตาระดับเจือจางในการสลายการชุมนุม ล้วนเป็นหลักวิธีที่เป็นสากลดังที่สำนักงานตำรวจกล่าวอ้างหรือไม่ อาจต้องทำความเข้าใจในรายละเอียด โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ OHCHR ได้วางแนวทางหรือหลักในการสลายการชุมนุมไว้ดังนี้

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

“กิจของสงฆ์” ในการเมืองไทย : พระจักรี อภินันโท

เมื่อ ‘พระสงฆ์’ ปรากฏตัวในความขัดแย้งหรือการชุมนุมทางการเมือง คำกล่าวว่า “พระไม่ควรจะยุ่งกับการเมือง” นับเป็นถ้อยคำที่มักได้ยินเสมอ ปฏิเสธไม่ได้ว่าพระสงฆ์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยตลอดมา ตั้งแต่พระกิตติวุฑโฒ กับประโยค “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” กลุ่มสันติอโศกของสมณะโพธิรักษ์ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หรือขบวนการจีวรแดงในช่วงแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ ไปจนถึงอดีตพระพุทธอิสระในการชุมนุมของกลุ่มกปปส.  ล่าสุดการชุมนุมของกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม รวมไปถึงกลุ่มประชาชนปลดแอกที่ผ่านมาพระสงฆ์ก็ได้เข้ามามีบทบาทเช่นกัน Plus Seven พูดคุยกับ พระจักรี อภินันโท

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

อาชีวะอยู่ตรงไหนในการชุมนุมทางการเมือง?

การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 เป็นต้นมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นการชุมนุมที่เกิดจากคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในสถานศึกษาเป็นหลัก เนื่องด้วยการชุมนุมเริ่มขึ้นในสถานศึกษา ก่อนขยายตัวไปยังพื้นที่อื่น และดึงประชาชนกลุ่มต่างๆ มาเข้าร่วม ไปจนถึงการชุมนุมต่อต้านอำนาจนิยมในระบบการศึกษาไทย ของกลุ่มนักเรียนที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ และการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์ในโรงเรียนทั่วประเทศ แต่ไม่ใช่เพียงเด็กนักเรียนสายสามัญ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมือง นักเรียนสายอาชีพ อาชีวะ หรือที่เรียกกันว่าเด็กช่าง ก็มีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตยไม่แตกต่างกัน เห็นได้จากอาร์มสีขาวโดดเด่น “ฟันเฟืองประชาธิปไตย” หรือ

Read More
FEATUREDLatestReportages

ผู้ชายขายบริการ

เดือนมิถุนายนถือเป็น Pride Month หรือเดือนแห่งการเฉลิมฉลองขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เนื่องในโอกาสนี้ Plus Seven ขอนำเสนอ Photo Essay บอกเล่าเรื่องราวของผู้ชายขายบริการในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มที่คาบเกี่ยวกับความหลากหลาย เสรีภาพ และความปลอดภัยทางเพศ หากแต่ถูกพูดถึงน้อยกว่ากลุ่มอื่น จนอาจจะเรียกได้ว่าเป็น ‘ชายขอบของชายขอบ’ ต้นฉบับเรื่องและภาพโดยวรุตม์ พงศ์พิพัฒน์

Read More
FEATUREDReportages

กรุงเทพฯ ภายใต้วิกฤตโควิด-19

กว่าห้าเดือนแล้วที่ชีวิตในกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 นับตั้งแต่มีการยืนยันผู้ป่วยรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 รัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับโรคระบาด ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในเมืองเปลี่ยนไป พ.ร.ก. ฉุกเฉินและเคอร์ฟิวถูกบังคับใช้ นักเรียนไม่สามารถไปโรงเรียน นักศึกษาต้องหยุดเรียนหรือเรียนออนไลน์ที่บ้าน ร้านสะดวกซื้อ ศูนย์การค้าและธุรกิจต่างๆ ถูกปิด บริการต่างๆ ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบ พนักงานบริษัทต้องทำงานที่บ้าน การใส่หน้ากากในที่สาธารณะเป็นสิ่งจำเป็น  Plus

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

คาเฟ่น้องหมาในวันที่ไม่มีมนุษย์

คาเฟ่สัตว์เลี้ยงเป็นธุรกิจหนึ่งที่เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้านกาแฟส่วนใหญ่เน้นจุดขายเป็นเมล็ดกาแฟคัดสรรพิเศษ หรือการตกแต่งร้านที่มีเอกลักษณ์ดึงดูดให้ลูกค้าถ่ายภาพลงโซเชียล ร้านคาเฟ่สัตว์เลี้ยงมีตัวชูโรงเป็นสัตว์น่ารักที่ลูกค้าสามารถมาเล่นด้วยได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลออกคำสั่งปิดกิจการหลายอย่างเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส หน้าร้านต่างๆ จำต้องปิดให้บริการและหันไปพึ่งพาการส่งสินค้าผ่านบริการเดลิเวอรี่ นั่นหมายความว่า ธุรกิจอย่างคาเฟ่สัตว์เลี้ยงสูญเสียจุดขายสำคัญ เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถมาชื่นชมความน่ารักของสัตว์ที่ร้านได้อีกต่อไป คนรักหมาในเมือง วีณศริน ‘ตอย’ พรหมจิตติพงศ์ รับช่วงกิจการร้าน Dog In Town สาขาเอกมัยมาจากพี่เขยที่ขยายไปเปิดสาขาใหม่ที่อารีย์

Read More
FEATUREDLatestReportages

สลัมตกสำรวจ: มุมเมืองที่ถูกเมิน

เมื่อพูดถึงชุมชนแออัดในเมือง หรือ “สลัม” หลายคนมักจะนึกถึงชุมชนที่มีชื่อเสียง เช่น ชุมชนคลองเตย ชุมชนบ่อนไก่ หรือชุมชนบ้านครัว ชุมชนเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้คนในชุมชนขาดรายได้มาจุนเจือครอบครัว มีปัญหาด้านสุขอนามัย และขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ชุมชนเหล่านี้ยังได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนเป็นครั้งคราว  แต่ในกรุงเทพมหานครยังมี “สลัมตกสำรวจ” อีกเป็นจำนวนมากที่มีปัญหาไม่ต่างกัน แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างชุมชนชื่อดังที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ชายขอบของความเหลื่อมล้ำ สิทธิพล ชูประจง

Read More
ArticlesFEATURED

ศาสนาปรับตัวอย่างไรเพื่อรับมือโรคระบาด COVID-19

ไม่เพียงแต่ปุถุชนเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19 ศาสนา ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของผู้คนจำนวนมาก กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อการรวมตัวกันเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะอาจเพิ่มการแพร่กระจายไวรัส อิสลาม: บททดสอบจากอัลเลาะห์ “บางคนร้องไห้ เวลาได้ยินเสียงผมอาซาน (การเรียกเพื่อละหมาดของอิสลาม) เขาปวดร้าว บ่งบอกถึงความรู้สึกว่านี่เป็นบ้านของอัลเลาะห์ ที่พระองค์กำหนดไว้ว่าพวกเจ้าต้องมาละหมาดที่นี่ทุกวันศุกร์ แต่ในเมื่อพระองค์กำลังทดสอบศรัทธา โดยให้ทุกคนต้องละหมาดที่บ้าน ก็ต้องทำ” ฮายิดดีน โต๊ะเซียะ

Read More
ArticlesFEATURED

Fake News Series | ส่องอำนาจรัฐจัดการข่าวปลอม

หลังจากรัฐบาลจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ภายใต้การดูแลของนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็มีการโหมระดมจับกุมผู้ปล่อยเฟคนิวส์อย่างต่อเนื่อง แล้วอำนาจของรัฐในการจัดการกับสิ่งที่ถูกนิยามว่าเป็นข่าวปลอมนั้นมีอะไรบ้าง บัญญัติกฎหมายในมือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข่าวปลอมถูกระบุอยู่ใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2

Read More