Latest

FEATUREDLatestReportages

โควิด-19 ในคลองเตย: เมื่อรัฐขยับตัวช้าเกินไป 

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน รวยล้นฟ้าย่อมมีสิทธิติดเชื้อได้ทั้งสิ้น  แม้รัฐบาลจะพยายามบอกว่าทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน แต่กระแสข่าวที่ออกมาตามหน้าสื่อกลับสวนทาง เมื่อผู้มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในสังคมได้ออกมาเผยแพร่เกี่ยวกับข้อมูลการติดเชื้อ ภาพที่เห็นนั้นคือการบริการจากทั้งทางภาครัฐและเอกชนที่พร้อม ทั้งการตรวจเชื้อ การรับตัวไปรักษา หรือว่าในส่วนของสถานรักษาพยาบาลที่มีความครบครัน แต่ประชาชนคนทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนที่เปราะบางทางเศรษฐกิจกลับต้องเผชิญกับความยากลำบากในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ราคาสูงเกินกว่าจะแบกรับต้นทุนได้ หรือต่อให้มีการบริการตรวจหาเชื้อฟรีก็มีจำนวนจำกัดจนเกิดการแย่งชิงสิทธิ การประสานงานที่เชื่องช้าระหว่างองค์กรที่มีหน้าที่ในการรับผู้ป่วยจากบ้านไปส่งที่โรงพยาบาล

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

อุ้มหาย ความอำมหิตอย่างไม่เป็นทางการของรัฐไทย : “จ่านิว” สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์

การบุกจับตัว จ่านิว สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ จากบริเวณหน้าประตูรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในช่วงเวลากลางคืนเป็นการกระทำที่อุกอาจอย่างไม่ต้องสงสัย โดยภาพจากกล้องวงจรปิดปรากฏชัดว่ามีชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งได้มาดักรอและมีการพาตัวสิรวิชญ์ในลักษณะของการบังคับอุ้มขึ้นรถ โดยไม่มีใครทราบว่าใครพาไปหรือพาไปที่ไหน ก่อนที่จะนำตัวไปปล่อยไว้ที่สถานีตำรวจในเวลาราวสี่ชั่วโมงถัดมา จากประสบการณ์ในช่วงเดือนมกราคมเมื่อห้าปีที่แล้ว จ่านิว สิรวิชญ์ย้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นอีกครั้ง จ่านิวเริ่มเล่าจากความเป็นมาของการจับตัวว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทุจริตในโครงการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ “นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง”  โดยตัวเขาและผู้เข้าร่วมกิจกรรมรายอื่นได้โดยสารรถไฟจากสถานีบางกอกน้อยไปยังสถานที่ตั้งของอุทยานที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหลังจากกิจกรรมในวันนั้นสิรวิชญ์ถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

โรงเรียนสุด (เหลื่อม) ล้ำ

ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่ทุกคนมักหยิบยกมาพูดเมื่อเอ่ยถึงปัญหาด้านการศึกษาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างอย่างมหาศาลของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนชั้นนำ โรงเรียนต่างจังหวัด หรือโรงเรียนในกรุงเทพฯ ไปจนถึงการมีอยู่ของโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนต้องใช้ต้นทุนทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับการเข้าถึงทางการศึกษา โอกาสที่ซื้อได้ด้วยเงิน อรรถพล บัวพัฒน์ หรือ ครูใหญ่ ติวเตอร์วิชาสังคม และภาษาไทย ในจังหวัดขอนแก่น อธิบายถึงความเหลื่อมล้ำของการศึกษาผ่านมุมมองของติวเตอร์ว่า “ในสังคมใดๆ ก็ตามที่ปริมาณเงินที่มากกว่า สามารถซื้อคุณภาพด้านการคมนาคม การรักษาพยาบาลและการศึกษาที่ดีกว่า

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

ปล่อยให้เจ็บ เพื่อเติบโต : เมนู สุพิชฌาย์ ชัยลอม

ทุกอย่างเริ่มต้นที่ครอบครัว ทั้งความรักและความขัดแย้ง เรื่องราวของประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ออกมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความไม่ลงรอยภายในครอบครัวภายหลังจากการออกมาเคลื่อนไหวหรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในหลายเดือนที่ผ่านมาปรากฎความรุนแรงที่น่าประหลาดใจ Plus Seven สัมภาษณ์เมนู สุพิชฌาย์ ชัยลอม ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่ภาพแผ่นหลังของตนเองขณะชูสามนิ้วกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เพื่อน และสังคมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากการออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งมีทั้งแรงสนับสนุนและเสียงคัดค้าน หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อเราเคลื่อนไหวอยู่ในโลกประชาธิปไตย เมนู เล่าว่าพ่อของตนเป็นตำรวจ ในขณะที่แม่ทำเบอเกอรี มีน้องหนึ่งคน ส่วนตัวเองเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก สายศิลป์-ภาษา

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

iLaw คือใคร ใครคือ iLaw

แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนของ iLaw จะถูกคว่ำกลางสภา ด้วยมติไม่รับหลักการ 138 คน งดออกเสียง 369 คน รับหลักการ 212 คน แต่ความน่าสนใจคือการรวบรวมรายชื่อประชาชนกว่าแสนรายชื่อ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง และการชุมนุมในช่วงปี 2563 เช่นนั้น iLaw คือใคร PLUS

Read More
ArticlesFEATUREDLatestOpinion

รัฐไทยได้มาตรฐาน? : เปิดแนวทางสลายการชุมนุมระดับสากล

การชุมนุมประท้วงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แม้ในหลายการชุมนุมอาจนำไปสู่ความรุนแรงตามวาระโอกาส แต่ไม่ได้ทำให้การชุมนุมหมดความชอบธรรมไปในทันที และหากมีความจำเป็นต้องสลายการชุมนุม การคงไว้ซึ่งรูปแบบที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรง ดูจะเป็นตัวเลือกที่ได้รับการยอมรับมากกว่า เช่นนั้นการสลายการชุมนุมในช่วงปี 2563 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ใช้น้ำผสมสารเคมีสีฟ้า (Methyl violet 2B) และน้ำที่ผสมแก๊สน้ำตาระดับเจือจางในการสลายการชุมนุม ล้วนเป็นหลักวิธีที่เป็นสากลดังที่สำนักงานตำรวจกล่าวอ้างหรือไม่ อาจต้องทำความเข้าใจในรายละเอียด โดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ OHCHR ได้วางแนวทางหรือหลักในการสลายการชุมนุมไว้ดังนี้

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

“กิจของสงฆ์” ในการเมืองไทย : พระจักรี อภินันโท

เมื่อ ‘พระสงฆ์’ ปรากฏตัวในความขัดแย้งหรือการชุมนุมทางการเมือง คำกล่าวว่า “พระไม่ควรจะยุ่งกับการเมือง” นับเป็นถ้อยคำที่มักได้ยินเสมอ ปฏิเสธไม่ได้ว่าพระสงฆ์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยตลอดมา ตั้งแต่พระกิตติวุฑโฒ กับประโยค “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” กลุ่มสันติอโศกของสมณะโพธิรักษ์ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หรือขบวนการจีวรแดงในช่วงแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ ไปจนถึงอดีตพระพุทธอิสระในการชุมนุมของกลุ่มกปปส.  ล่าสุดการชุมนุมของกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม รวมไปถึงกลุ่มประชาชนปลดแอกที่ผ่านมาพระสงฆ์ก็ได้เข้ามามีบทบาทเช่นกัน Plus Seven พูดคุยกับ พระจักรี อภินันโท

Read More
ArticlesFEATUREDLatest

อาชีวะอยู่ตรงไหนในการชุมนุมทางการเมือง?

การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 เป็นต้นมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นการชุมนุมที่เกิดจากคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในสถานศึกษาเป็นหลัก เนื่องด้วยการชุมนุมเริ่มขึ้นในสถานศึกษา ก่อนขยายตัวไปยังพื้นที่อื่น และดึงประชาชนกลุ่มต่างๆ มาเข้าร่วม ไปจนถึงการชุมนุมต่อต้านอำนาจนิยมในระบบการศึกษาไทย ของกลุ่มนักเรียนที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ และการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์ในโรงเรียนทั่วประเทศ แต่ไม่ใช่เพียงเด็กนักเรียนสายสามัญ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมือง นักเรียนสายอาชีพ อาชีวะ หรือที่เรียกกันว่าเด็กช่าง ก็มีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตยไม่แตกต่างกัน เห็นได้จากอาร์มสีขาวโดดเด่น “ฟันเฟืองประชาธิปไตย” หรือ

Read More
ArticlesLatest

จากปุ๊ระเบิดขวดถึงเผาเลยพี่น้อง: ย้อนมองประวัติศาสตร์อาวุธประจำม็อบ

หากพูดถึงระเบิดขวด เชื่อว่าใครหลายๆคนคงจะนึกถึงชื่อเสียงเรียงนามของอดีตนักเลงหัวไม้ในตำนานนาม “ปุ๊ระเบิดขวด” เรื่องเล่าของเขาก็มีมากมายทั้งบอกว่าระเบิดขวดคือชื่อแก๊งของเขา คนในแก๊งชอบใช้ระเบิดขวด หรือระเบิดขวดเป็นอาวุธประจำตัวของเขาเป็นต้น ระเบิดขวดยังปรากฎอย่างต่อเนื่องในหน้าหนังสือพิมพ์ไทยอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การใช้งานของกลุ่มเด็กช่างกลเวลาตีกัน ไปจนถึงการที่การ์ดในการชุมนุมทางการเมืองมีการทำระเบิดขวดไว้ตอบโต้เจ้าหน้าที่ ทั้งนี้หากเทียบกรณีในการเมืองประเทศไทยที่พอจะทันสมัยที่สุดก็คือคำกล่าวที่ว่า “น้ำมันคนละหนึ่งขวดให้ได้หนึ่งล้านขวด” ของอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง หรือ “เผาเลยครับผมรับผิดชอบเอง” ของณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ แกนนำม็อบ นปช. หรือม็อบเสื้อแดง

Read More
ArticlesLatest

นักเขียนนิยายไทย อยู่หรือไปในยุคดิจิตอล

ในปี 2553 Nicholas Negroponte ผู้เขียนหนังสือ Being Digital และผู้ก่อตั้ง MIT Media Lab กล่าวว่า “หนังสือเล่มที่จับต้องได้จะตายภายใน 5 ปี” ปัจจุบันเวลาล่วงเลยมา 10 ปีแล้ว หากเป็นความตาย ก็เป็นความตายที่เนิ่นนานและทรมาน

Read More